บ้านสไตล์ชนบท

บ้านสไตล์ชนบท การมีบ้านที่แสนอบอุ่น สวยงาม และอยู่ท่ามกลางเหล่าต้นไม้ที่ให้ร่มเย็น คงเป็นฝันของใครหลายๆ คน ซึ่งบ้านสไตล์ Country เป็นหนึ่งในการตกแต่งที่เหมาะกับคนที่ชื่นชอบบ้านตามแถบชนบท ไม่เน้นสวยหรู แต่ยังคงไว้ซึ่งความงามแบบเรียบๆ ที่จะใช้วัสดุจากธรรมชาติเช่นไม้เป็นหลัก และการตั้งทำเลที่ใกล้ธรรมชาติ หรือ มีสวนหย่อมอยู่ภายในบริเวณบ้านให้ชื่นชม

บ้านสไตล์ชนบท

สไตล์ Country เป็นการตกแต่งบ้านแบบชนบท ตะวันตกที่สะท้อนถึงสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนแถบนั้น มีการใช้วัสดุที่อิง จากธรรมชาติเพื่อคงความ ดั้งเดิมของสัจจะวัสดุและโชว์เอกลักษณ์ที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นพื้นไม้ที่มีลวดลาย จากไม้จริงและสีที่ผ่านขั้นตอนการแต่งที่น้อยที่สุด เพื่อให้เห็นความงามของไม้จริง หรือจะเป็นกระเบื้องดินเผา ที่เน้นโชว์สีของเนื้อดินมากกว่าลายที่ตกแต่งลงบนกระเบื้อง

ทั้งนี้ สไตล์ Country ก็สะท้อนถึงสภาพอากาศของถิ่น ที่อยู่ในตะวันตก ครั้นเมื่อเจอกับอากาศฤดูหนาว และมีหิมะจับเกาะตามตัวบ้าน หลังคาทรงสูงเนี่ยแหละ ที่ช่วยให่หิมะไหลหล่นลงมาข้างล่างซึ่งรวมถึงน้ำฝน แล้วยังช่วยเรื่อง การถ่ายเทอากาศให้ไหลเวียนได้ดีด้วย ถือเป็นการออกแบบที่ใส่ใจ รายละเอียดของผู้คนในชนบท เพื่ออำนวยความสะดวกแทนเครื่องมือทันสมัย

แบบบ้านสไตล์ชนบท ทนทานต่อแผ่นดินไหว

บ้านสไตล์ชนบท

แผ่นดินไหว เป็นอีกหนึ่งภัยธรรมชาติที่สร้างผลกระทบรุนแรงกับมนุษย์ ทั้งด้านชีวิตและทรัยพ์สิน ตัวอย่างเช่น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในเดือนเมษายน ปีพ. ศ. 2560 บนบริเวณพื้นที่ชนบทของ Los Horconcitos-Manabí ประเทศเอกัวดอร์ บ้านเรือนในเขตแผ่นดินไหวก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนทำให้ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก al borde+el sindicato arquitectura จึงได้พัฒนาต้นแบบบ้านสำหรับผู้ประสบภัย ซึ่งมีราคาเท่ากับบ้านที่รัฐจัดส่งให้ แต่ปรับแบบบ้านเข้ากับผู้ใช้และสถานที่ปลูกสร้าง ที่เป็นชนบทให้ใช้งานได้ดีเหมาะสมกับบริบทยิ่งขึ้น

ผลงานการออกแบบบ้านสำหรับผู้ประสบภัย เป็นบ้านชั้นเดียวหน้าตาเรียบ ๆ สร้างรากฐานและตอม่อให้แข็งแรงด้วยคอนกรีตขนาดใหญ่ ออกแบบมาเพื่อป้องกันแรงเฉือนและแรงดึงจากแผ่นดินไหว ยกสูงจากพื้นไม่มากพอให้มีพื้นที่ระบายอากาศ โดยปกติบ้านต้านแผ่นดินไหวจะหุ้มรอบเสาด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ทำให้เสาแข็งแรงขึ้น แต่บ้านนี้ประหยัดงบประมาณด้วยการหล่อคอนกรีตลงในยางรถ เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของตอม่อ บ้านชนบท

บ้านแบบเดิม (ซ้ายบน) ที่พังทลายจากแรงสั่นสะเทือน มีทั้งบ้านคอนกรีตและบ้านไม้ เปรียบเทียบกับภาพที่เป็นบ้านของรัฐ (ช่องขวาบน) จะเห็นว่ารูปแบบบ้านของทีมงาน (รูปล่าง) ดูเข้ากันได้กับสังคมชนบทเกษตรกรรมมากกว่า

ผนังและองค์ประกอบอื่น ๆ ของบ้านสร้างจากวัสดุสำเร็จรูป อย่างเช่น ไม้อัด และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่หาง่ายๆ ในพื้นที่ชนบท โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรเฉพาะ ก็ทำโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพได้ เพราะไม้อัดหรือไม้ธรรมชาติจะมีความยืดหยุ่น ทำให้โครงสร้างสามารถเคลื่อนไหวได้ เพื่อให้ไม่ฝืนรับแรงกระทำจากแผ่นดินไหวโดยตรง ทั้งนี้ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการเลือกใช้วัสดุบ้าน ๆ คือ ชาวบ้านสามารถต่อเติมบ้านเองในภายหลังได้ไม่ยากนัก

บ้านนี้สร้างขึ้นโดยมีทีมงานก่อสร้าง 2 คน และผู้ช่วยที่เป็นเกษตรกรสองคน ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการก่อสร้าง เข้ามาร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการก่อสร้าง ที่จัดขึ้นโดย ENOBRA แล้วลงมือก่อร่างสร้างบ้านออกมาเป็นหลังได้งดงาม ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงสองเดือนก็พร้อมเข้าอยู่

ระบบโครงสร้าง (Structure) ของอาคารเป็นแบบ Modular ซึ่งช่วยให้แต่ละโครงการสามารถปรับและออกแบบตามเงื่อนไขของแต่ละจุด ลักษณะโครงสร้างที่ต้องต่อเนื่องสม่ำเสมอทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ทำให้รูปทรงบ้านออกมาสมมาตร เป็นอาคารชั้นเดียวแบ่งตัวบ้านออกได้เป็น 3 ช่อง หลังคาทรงจั่วกางออกมาจากจุดศูนย์กลางเท่า ๆ กัน

การกำหนดทิศทางของบ้าน เน้นใช้ประโยชน์จากกระแสการไหลของอากาศ สร้างช่องเปิดขนาดใหญ่ให้รับและระบายอากาศถ่ายเทในบ้านได้สะดวก ในส่วนที่ต้องการปกป้องบ้านจากแสงอาทิตย์ก็ก่อปิดทึบ

บ้านสไตล์ชนบท

ช่วงกลางของตัวบ้านถัดจากชานบ้าน ติดผนังกระจกและหน้าต่างบานไม้ที่ใส่กระจกเช่นกัน ความใสของกระจกหน้าต่างช่วยให้บ้านดูโปร่งโล่ง ระบายอากาศร้อนได้ดี ทำให้ผู้อยู่ในบ้านรับวิสัยทัศน์อันสวยงามภายนอกได้เต็มที่ สร้างบรรยากาศที่ทันสมัยขึ้นกว่าแบบบ้านธรรมดา และยังมีประโยชน์อีกหนึ่งประการที่แฝงอยู่คือ กระจกจะทำหน้าที่เป็นผนังอาคารไปในตัว ด้วยความที่เป็นวัสดุมีความยืดหยุ่น จึงสามารถโค้งงอและแกว่งไกวในลักษณะคล้ายๆ กับการแกว่งไกวของต้นไม้ที่ถูกลมพัดกระโชกแรงๆ แต่ไม่พังคลืนลงมาง่าย ๆ

ส่วนของพื้น ผนัง และหลังคา สามารถเลือกใช้วัสดุได้หลากหลายตามความเหมาะสม เช่น วัสดุปูพื้น สามารถใช้ได้ทั้งไม้ธรรมชาติ ไม้สังเคราะห์ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ ส่วนของผนังจะใช้ไม้จริง ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด (smart board) ไม้อัดซีเมนต์บอร์ด (viva board) หรือไม้ WPC (wood plastic composite) สำหรับบ้านนี้พื้นบ้านปูด้วยไม้ ผนังบ้านฉาบปูนผสมวัชพืชสับ (หรือดินปั้นฟาง) สร้าง texture ที่สวยงามให้กับบ้าน สีของดินให้ผืนผนังที่มีความงามตามธรรมชาติ ดินผสมหรือปูนพลาสเตอร์ผสมนี้ยังมีคุณสมบัติทนต่อแผ่นดินไหวได้ดีกว่าบ้านดินแบบอิฐดินดิบด้วย

แบบบ้านสไตล์ชนบทที่มาบรรจบกับโมเดิร์น

แบบบ้านสไตล์ชนบทที่มาบรรจบกับโมเดิร์น

บ้าน หลังนี้เริ่มต้นจากสถาปนิกให้คู่สามีภรรยาเจ้าของบ้าน list สิ่งที่ต้องการให้มีและการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งที่ทั้งคู่ตอบกลับมาคือ บ้านที่ให้มุมมองธรรมชาติ แวดล้อมด้วยอากาศบริสุทธิ์ สวนหลังบ้านพื้นที่มาก ๆ สำหรับให้สุนัขวิ่งเล่น และพื้นที่พักผ่อนอ่านหนังสือเพลิน ๆ กลางความอบอุ่นของแสงแดด แน่นอนว่า ในการสร้างบ้านแต่ละหลัง สมาชิกแต่ละคนฝันถึงบ้านในแง่มุมที่ไม่ตรงกันเสียทั้งหมด บางอย่างก็ขัดแย้งกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จึงเป็นหน้าที่ของสถาปนิกที่จะเป็นตัวกลางเกลี่ยความคาดหวังให้ค่อย ๆ มารวมกันได้ทีละเล็กทีละน้อย จนได้ผลงานออกมาเป็นบ้าน Aldeia ชื่อที่ได้รับจากสถาปนิก AUA ผู้ออกแบบบ้าน

บ้านปูนเปลือยดีไซน์แบบโปรตุเกสโมเดิร์น คู่รักที่ละทิ้งวิถีชีวิตคนเมือง เพื่อแลกกับชีวิตประจำวันเรียบง่ายในชนบท จึงไม่เพียงเป็นการย้ายที่อยู่อาศัย แต่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งหมด จึงต้องตกผลึกทางความคิดให้ลงตัวที่สุด จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความต้องการซึ่งกันและกัน

ข้อสรุปจึงลงตัวที่ดีไซน์บ้านที่อ้างอิงจากหมู่บ้านประวัติศาสตร์โปรตุเกส (aldeias) ที่มีรูปทรงบ้านสูงหลังคาจั่ว สร้างโดยวัสดุพื้นถิ่นอย่างอิฐแดง กระเบื้องดินเผา ซึ่งเป็นความทรงจำที่น่าประทับใจของชาวโปรตุเกสและชาวบราซิล ที่สร้างรากฐานให้กับประเทศในยุโรป

ดีไซน์บ้านแม้จะมีพื้นฐานแนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่มาจากต้นแบบของบ้านในชนบท แต่เจ้าของบ้านต้องการให้ยังมีความเชื่อมโยงกับเมืองอยู่ จึงลดทอนรายละเอียดลงมาให้โมเดิร์นขึ้น พร้อมๆ กับนำเสนอวัสดุอื่น ๆ ควบคู่กับงานพื้นถิ่น เช่น กระจก เหล็ก ปูนเปลือย และใช้โทนสีกลมกลืนกับธรรมชาติ ใส่ฟังก์ชันแบบบ้านสมัยใหม่ที่รวมเข้ากับภูมิทัศน์ สร้างบ้านให้ตอบโจทย์พื้นที่เนินไม่สม่ำเสมอ

คอร์ทกลางบ้าน เปิดรับวิว ลม แสง บ้านที่ประกอบด้วยอาคารที่ถูกแบ่งออกมาเป็นกลุ่มก้อน มีช่องว่างเป็นคอร์ทตรงกลาง ที่เปิดให้เป็นช่องทางรับแสง ลม และปลูกต้นไม้ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กับบ้าน จากมุมนั่งเล่นในสวนสามารถมองเห็นครัวและส่วนใช้งานในบ้านได้ชัด ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกคิดมาแล้วอย่างดี ผนังบ้านสลับกันระหว่างปูนเปลือย ผนังทาสีส้มอิฐ และผนังโชว์แนวอิฐแดง ซึ่งเป็นส่วนผสมของการตีความแบบพบกันครึ่งทางระหว่างของเก่ากับของใหม่อย่างลงตัว บ้านจัดสรร

ในบ้านโบราณนิยมทำบ้านให้สูง ช่องแสงน้อย เพื่อรักษาความอบอุ่นในฤดูหนาว แต่ในบ้านยุคใหม่จะออกแบบให้โปร่งสบายอยู่สบายในฤดูร้อน มีพื้นที่รับแสงได้ดีในฤดูหนาว ดังนั้นประตูและหน้าต่างทุกบานจะได้รับการกำหนดขนาดและตำแหน่งอย่างระมัดระวัง เพื่อการควบคุมแสงแดดในแต่ละช่วงของวัน และเป็นการกำหนดกรอบภูมิทัศน์ กระตุ้นให้ผู้คนเพลิดเพลินไปกับพื้นที่ภายนอก

อิฐและคอนกรีตสร้างบรรยากาศอบอุ่นให้บ้าน

อิฐและคอนกรีตสร้างบรรยากาศอบอุ่นให้บ้าน ภายในบ้านสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นทันที่ ที่ก้าวเข้ามา เพราะตัวบ้านถูกโอบล้อมจากเพดาน ผนัง และพื้นบ้านที่เต็มไปด้วยก้อนอิฐแดงแบบบ้านๆ แทรกสลับกับงานไม้ และความเรียบดิบของพื้นขัดมัน ตลอดตัวบ้านพื้นที่ไม่ได้ราบเรียบเท่ากันทั้งหมด

แต่มีความต่างระดับตามลักษณะของพื้นที่ที่เป็นเนินสูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งสถาปนิกสามารถ เปลี่ยนจุดด้วยให้กลายเป็นจุดเด่น คือใช้ความต่างระดับเป็นตัวแบ่งขอบเขตการใช้งานพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนออกจากกัน โดยที่ไม่ต้องปิดผนังทึบกั้นทางเดินของแสงและอากาศ

แปลนบ้านจัดแบบ open plan ตามแบบฉบับบ้านโมเดิร์น ที่นิยมจัดพื้นที่ให้โล่งโปร่ง แล้ววางพื้นที่ใช้สอยที่แตกต่างกัน เข้ามาเรียงร้อยต่อเนื่องกันในจุดเดียว อาทิ ครัว ห้องนั่งเล่น มุมทานข้าว ทำให้สมาชิกในบ้านสามารถทำกิจกรรม ที่แตกต่างหลากหลายด้วยกันได้ในพื้นที่เดียว

ห้องนอนที่แสนผ่อนคลาย จากบันไดทางเดินเล็ก ๆ ขึ้นมาถึงชั้นบนซึ่งเป็นห้องนอน จะรู้สึกได้ถึงความเรียบง่าย จากวัสดุไม้อัดลายไม้ ผนังอิฐ และความโปร่งสว่างจากช่องแสงขนาดใหญ่รอบ ๆ ไม่ว่าจะเป็นประตู หรือหน้าต่าง ที่ให้วิวท้องทุ่งได้พอดี แม้จะตกแต่งง่าย ๆ ไม่หรูหรา แต่ให้ความสุขเต็มพิกัดเหมือนได้นอนพักอย่างผ่อนคลายอยู่กลางธรรมชาติในทุก ๆ วัน

สำหรับการตกแต่งบ้านด้วยอิฐหลายคนเห็นว่าเชย แต่เราสามารถจับคู่วัสดุ ที่ให้ความรู้สึกโมเดิร์นได้ เช่น ผนังปูนเปลือย ไม้สีอ่อน ๆ แทรกด้วยกระจกใส ก็สร้างความสมดุลให้บ้าน และเติมมิติทางสายตาที่หลากหลาย

You May Also Like

More From Author