บ้าน 2 ชั้นสวยๆ

บ้าน 2 ชั้นสวยๆ

บ้าน 2 ชั้นสวยๆ

บ้าน 2 ชั้นสวยๆ บ้านคอนกรีต เป็นวัสดุสร้างบ้านหลัก ๆ ที่อยู่คู่ผู้คนทั้วทุกซีกโลกมายาวนาน การนำมาใช้ก็แตกต่างกันไปตามสมัยนิยม รวมถึงการใส่ดีไซน์ มุมมองใหม่ๆ เข้าไปตามสายตาของคนต่างยุค แต่เราจะพบว่าการเปลือยเนื้อแท้ของเนื้อคอนกรีตกลับทำให้เกิดความประทับใจบางอย่าง วิธีการก่อสร้างแบบนี้จึงยังไม่เคยหายไปจากใจคนรักบ้าน อย่างไรก็ตามคอนกรีตที่หนา หนัก ดิบ จำเป็นต้องมีตัวช่วยลดทอนความรู้สึกเหล่านั้น ซึ่งเนื้อหานี้เราจะไปพบแแบบบ้านปูนเปลือยที่โดดเด่นทั้งการผสมผสานวัสดุและจังหวะในการออกแบบ

บ้านปูนเปลือยจับคู่กับฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลาย

บ้านหลังนี้สร้างขึ้น 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 363 ตร.ม. บนพื้นที่ 330 ตร.ม. ในออสเตรเลีย Humphrey Homes ให้แนวทางแบบองค์รวมที่ไม่เหมือนใคร โดยรวมเอาปูนเปลือยโชว์ร่องรอยความไม่สมบูรณ์แบบของกริดไลน์ รูน็อต เข้ากับวัสดุฟาซาดเหล็กฉลุลาย สร้างจังหวะของความทึบ โปร่ง หนักและเบาได้อย่างสมดุล ไม่เพียงเท่านั้น ทีมงานยังคิดเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเทคนิคการสร้างอาคารที่รักษาความอบอุ่นให้กับอาคารในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูร้อนไปพร้อมกันที่พักอ่าวมะนาว

บ้านปูนเปลือย

สีเทาของคอนกรีตและความรู้สึกแข็งแรงหนาหนักตามธรรมชาติของวัสดุ กำแพงคอนกรีตสูงกว่า 6.5 เมตร ถูกลดทอนลงด้วยการสร้างช่องว่างระหว่างอาคาร เป็นช่องสี่เหลี่ยมแนวตั้งสูงเรียงไปตามแนวอาคาร ทำหน้าที่เป็นช่องแสงและช่องเปิด ในขณะเดียวกันในอีกด้านของบ้านจะห่อหุ้มด้วยแผงแผ่นอลูมิเนียมเจาะรูที่ออกแบบเองลายโปร่งๆ สีขาวสะอาดตา

เมื่อเริ่มย่างก้าวเข้ามาในบ้านจะสัมผัสอารมณ์แบบโฮมมี่ ด้วยพื้นไม้ลายสวยและแนวพาร์ทิชันไม้เรียงตัวยาวเป็นแถว ต่างจากภาพภายนอกที่ค่อนข้างแข็งกระด้างได้อย่างหมดจดแนวฉากไม้ทำหน้าที่กั้นฟังก์ชันครัว ห้องนั่งเล่นและโซนโต๊ะทานข้าวออกจากส่วนทางเข้าหน้าบ้าน วิธีนี้ทำให้รู้ว่าจุดไหนที่ต้องการแยกออกจากส่วนอื่นๆ อย่างหลวมๆ โดยจะไม่รู้สึกถึงความทึบมืดหรือถูกตัดขาด เพราะยังสามารถมองเห็นและเข้าถึงกันได้ทั้งหมด read more : assetdata.land

การออกแบบภายในเน้นการใช้โทนสีธรรมชาติของไม้ คอนกรีต สีกลางๆ อย่างสีเทา สีขาวที่เป็นเสมือนฉากหลังให้บ้านดูผ่อนคลายและสะอาดตา ขับเน้นบางจุดที่ต้องการเพิ่มสีสันให้โดดชัดขึ้น เช่น ภาพวาดในห้องนั่งเล่น โคมไฟสีส้มที่แขวนห้อยเหนือโต๊ะทานข้าวไม้ เป็นต้น

ห้องนั่งเล่นทำสองรูปแบบ คือ ห้องนั่งเล่นแบบ indoor และแบบกึ่ง outdoor ที่เชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของสมาชิกในบ้านชื่นชอบความสดชื่นของการใช้ชีวิตแบบกลางแจ้ง โดยสถาปนิกทำประตูบานเลื่อนกว้างๆ ให้สามารถเปิดออกไปสร้างความต่อเนื่องระหว่างในบ้านกับภายนอก ออกไปจนถึงสวนได้ลื่นไหลจนเหมือนกลายเป็นพื้นที่เดียวกัน เมื่ออยากเปลี่ยนบรรยากาศออกไปนั่งชิลๆ นอกบ้านก็ทำได้ง่ายๆ ในวันที่อากาศไม่เป็นใจก็ยังมองออกไปชื่นชมทิวทัศน์นอกบ้านได้สบายๆ k village

บ้านปูนเปลือย

ในบ้านมีช่องว่างโถงสูงตรงมุมนั่งเล่น โดดเด่นกับเตาผิงเหล็กทำมือในฝรั่งเศส นำมาติดตั้งแขวนเป็นท่อสีดำสูงจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง เพิ่มความอบอุ่นในฤดูหนาวได้ดี ส่วนในฤดูร้อนตรงจุดนี้ก็จะเอื้อให้ความร้อนสามารถลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและระบายออกทางช่องเปิดที่รับข้างบนได้ดี เมื่อมีอากาศที่เย็นกว่าจะไหลเข้ามาแทนที่ทำให้บ้านมีอากาศหมุนเวียน เมื่อรวมกับช่องเปิดที่กว้างด้นล่างบ้านจะเย็นสบายในฤดูร้อน

บันไดคอนกรีตขัดมักซิกแซกที่วางติดอยู่บนพื้นไม้ เนื้อและผิวสัมผัสที่ต่างกันสุดขั้วของสองวัสดุธรรมชติกลับมาอยู่ด้วยกันอย่างพอดี เพิ่มราวเหล็กสีดำโปร่งๆ เข้าไปด้วย บันไดจะมีทั้งความแข็งแรง ความนุ่มนวล และความโปร่งไม่ดูทึบจนทำให้บ้านดูตัน ประกอบกับโคมไฟตกแต่งผนังสีดำที่ให้แสงสวยเมื่อเปิดไฟ กลายเป็นหนึ่งจุดโฟกัสสายตาที่เพิ่มความเก๋ให้จุดนี้ได้อย่างดี

ฟาซาดที่อยู่ตรงกับห้องนั่งเล่นบนชั้นสองและห้องนอน คลุมด้านหน้าเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้บ้านในจุดที่ต้องการ โดยที่ยังคงรับลมให้ไหลผ่านและช่วยกรองแสงไปด้วยในตัวในบ้านทุกหลัง Humphrey Homes ไม่มีการออกแบบมาตรฐานหรือการออกแบบ ‘ธีม’ สำหรับบ้านเอาไว้ก่อน ทีมงานเริ่มต้นด้วยผืนผ้าใบที่ว่างเปล่าและเปิดใจ ตั้งใจฟังสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องการและพยายามเข้าใจวิสัยทัศน์เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ ครอบครัว และงบประมาณ จนออกมาเป็นบ้านที่รองรับทุกความต้องการและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของผู้เป็นเจ้าของได้อย่างครบถ้วน

 Facadeหรือเปลือกนอกของบ้าน นอกจากจะเป็นองคืประกอบที่ช่วยเพิ่มความให้สวยงามอย่างแตกต่างและโดดเด่นแล้ว ยังมีฟังก์ชันที่ให้ประโยชน์กับบ้านแฝงอยู่อีกหลายประการ โดยเฉพาะฟาซาดที่ออกแบบให้เป็นจังหวะทึบสลับโปร่ง ฟาซาดระแนง หรือฟาซาดช่องลม เช่น ช่วยการระบายความร้อนจากช่องว่าง ช่วยบดบังกั้นกรองแสงแดด และสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายในออกจากสายตาของผู้คนที่ผ่านไปมา โดยที่คนภายในยังมองเห็นความเคลื่อนไหวนอกบ้านได้ดี

บ้านสองชั้นหลังคาสีเขียว

บ้านสองชั้น

หลังคานอกจากจะป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บ้านปลอดภัยจากสภาพอากาศภายนอกแล้ว ยังมีส่วนช่วยเรื่องการเพิ่มความสวยงามที่มองเห็นได้จากไกล ๆ และครอบคลุมสไตล์ของบ้านในภาพรวมได้ด้วย อย่างที่เราจะเห็นว่าในการออกแบบตามบริษัทต่างๆ ที่ทำให้ดูเป็นภาพตัวอย่าง บ้านดีไซน์เดียวกันแต่เมื่อเปลี่ยนรูปทรงหลังคาอารมณ์ของบ้านก็จะเปลี่ยนในทันที การเลือกทรงหลังคาให้เหมาะกับบ้านจึงสำคัญไม่แพ้กัน อย่างบ้านหลังนี้เลือกทำหลังคาสี่เหลี่ยมแต่มีปีกคลุมออกมาดูคล้ายบ้านกำลังสวมหมวก มั่นใจว่าบ้านจะได้รับการปกป้องทั้ง 4 ด้าน

บ้านขนาด 165 ตารางเมตรหลังนี้ สร้างอยู่ในเกนต์ (Ghent) เมืองในเบลเยียม เป็นโปรเจ็คในการปรับโครงสร้างใหม่ของบ้าน ซึ่ง FELT ได้เข้ามาทำหน้าที่ขยายบ้านเดี่ยวชั้นเดียวอายุหกสิบเศษที่มีอยู่ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น โดยเพิ่มชั้นที่สองขึ้นไปทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแล้วเสริมชายคาออกมารอบด้านทั้ง 4 ด้าน กลายเป็นรูปหมวกสีเขียวที่ซ่อนส่วนต่อเติมเอาไว้

บ้านสองชั้น

หลังคาที่มีชายคายื่นทั้ง 4 ด้านของตัวบ้านออกมาคล้ายกับหลังคาทรงปั้นหยา แต่ดูทันสมัยกว่าที่ทรงกล่องสี่เหลี่ยมด้านบน ในขณะที่ฟังก์ชันการใช้งานคล้ายกันคือ ปกป้องแสงแดดและละลองฝนที่จะทำร้ายตัวอาคารได้ครบทุกด้าน

ภายในออกแบบตกแต่งใหม่ให้ดูสว่างมีชีวิตชีวา เน้นโทนสีขาวเป็นหลักตัดด้วยงานไม้จากเฟอร์นิเจอร์เก่าชิ้นเดิมของบ้าน แทรกด้วยสีเขียวที่เติมเข้าไปให้ล้อไปกับหลังคา ในชั้นล่างสร้างงพื้นที่ใช้สอยเชื่อมต่อกันในแนวทแยง มีพื้นที่รับประทานอาหารสูง 2 เท่า แบบ Double Spac พร้อมเพดานทรงกระบอกโค้งเชื่อมสองชั้นอย่างสนุกสนานและนำแสงสว่างมาสู่ใจกลางบ้าน ส่วนชั้นบนพร้อมโถงกลางรูปเพชร (ดูแปลนประกอบ) รองรับสามห้องนอนและห้องน้ำหนึ่งห้อง

บ้านสองชั้น

ครัวโทนสีขาวเขียวให้ความรู้สึกสดชื่นเป็นมิติกับธรรมชาติ มีมุมโต๊ะเล็ก ๆ ข้างหน้าต่างที่สามารถพับเก็บได้ดูน่ารักโฮมมี่ เหมาะกับการนั่งดื่มกาแฟทานอาหารเช้าเบาๆ พร้อมดูวิวสวนไปด้วย หรือจะแวะมาทานของว่างดื่มชาช่วงบ่ายก็ชิลไม่แพ้กันช่องแสงวงกลมที่เคยใช้ตกแต่งบ้านยุค 60-70 กำลังนิยมในบ้านสไตล์โมเดิร์นมินิมอล หรือร้านกาแฟน่ารัก ๆ ทำให้บ้านนี้ดูร่วมสมัยมีทั้งความคลาสสิคปนอบอุ่นไม่ตกยุค

หลังคานี้เหมือนเป็นส่วนผสมของหลังคาแบบแบนกับปั้นหยาที่มีชายคารอบด้าน แต่ปั้นหยาจะลาดเอียงลงมาทั้งสี่มุม จึงทนต่อการปะทะของแรงลมได้ดี ช่วยลดความรุนแรงของแสงที่จะเข้าสู่ตัวบ้านและละอองฝนได้ แต่หลังคาปั้นหยามักตีฝ้าปิดทำให้มีโถงหลังคาขนาดใหญ่ทำให้ไม่มีพื้นที่เพื่อระบายอากาศร้อน ต้องระบายทางพื้นชายคาแทน สำหรับบ้านนี้ดีกว่าตรงหลังคาทรงสูงรูปสี่เหลี่ยมทำช่องว่างโถงสูงให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นและระบายออกได้ดี แต่ก็ต้องดูแลดรื่องการระบายน้ำจากหลังคาและการป้องกันการรั่วซึมให้ดี

You May Also Like

More From Author