บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น มีเอกลักษณ์โดดเด่น
บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น มีเอกลักษณ์โดดเด่น ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่น่ารักและมีเอกลักษณ์โดดเด่นในหลายๆอย่าง ทั้งในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกิน เครื่องสำอาง ของใช้ต่างๆ เป็นประเทศที่คนไทยชอบไปมากอันดับต้นๆ แต่ที่โดดเด่นและสวยงามอีกอย่างหนึ่ง คือ พวกสถาปัตยกรรมอย่างบ้านเรือน ร้านค้า ที่มีความสวยงามบวกความคิดสร้างสรรค์จนมาเป็นแบบบ้านต่างๆที่เราพบเห็นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในแต่ละพื้นที่ อย่างทำเลในเมืองหรือชนบทก็จะดีไซน์ที่แตกต่างกันไป แต่สภาพภูมิประเทศของญี่ปุ่นเป็นเกาะ และมีขนาดไม่ใหญ่ พื้นที่ใช้สอยมีจำกัด การสร้างบ้านสักหลังจึงต้องคำนึงถึงรูปแบบและเน้นใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บ้านเดี่ยว
บ้านของชาวญี่ปุ่นในสมัยก่อน จะถูกสร้างด้วยวัสดุที่เป็นไม้และกระดาษเกือบทั้งหลัง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ คือเป็นบ้านสำหรับชาวเกษตร และบ้านสำหรับชาวเมือง บ้านของชาวเกษตรมีหลังคาเป็นหญ้า(ฟางข้าวหรือฟางพืช Kaya) ถ้าคุณไปต่างจังหวัดก็คงยังพบเห็นอยู่นะคะ บ้านของชาวเมือง(รวมถึงเจ้าเมืองสมัยนั้น) มีหลังคาเป็นกระเบื้อง ซื้อบ้าน
ปัจจุบันนี้บ้านญี่ปุ่นที่สร้างใหม่ก็จะมีแต่หลังคากระเบื้องแล้ว และในเมืองใหญ่ๆ ก็จะมีพวกอพาร์ทเมนท์ และคอนโดมิเนียมที่ใช้ปูนซิเมนต์และเหล็กเป็นวัสดุก่อสร้างเยอะเหมือนกัน แต่ถ้าได้เข้าไปดูภายในบ้านแล้ว จะสังเกตุได้ว่า โครงสร้างภายในของบ้าน และการตกแต่ง หลายๆอย่างยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นดั้งเดิมเกือบทุกบ้าน
สเน่ห์ของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นคือการสร้างบ้านให้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ รอบๆบ้านจะต้องมีต้นไม้ สวนดอกไม้ พืชผักสวนครัว ก้อนหิน น้ำตก หรือธารน้ำ เป็นต้น เอกลักษณ์ของการดีไซน์บ้านแบบชาวญี่ปุ่นคือ การใช้ไม้ระแนงซีกเล็กๆเรียงกันเป็นแผง ใช้ตกแต่งส่วนต่างๆของตัวบ้าน บ้านแบบญี่ปุ่นต้องมีพื้นยกสูงประมาณ 30~60cm แต่จะไม่สูงเท่ากับบ้านแบบไทยพื้นยกที่ต้องขึ้นบันได สำหรับการยกพื้นของบ้านญี่ปุ่นนี้ ช่องว่างใต้พื้น (En-noshita) ของบ้านมีหน้าที่ระบายความชื้นเพราะว่าภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นมีความชื้นมาก ซึ่งจุดนี้ค่อนข้างจะคล้ายๆกับหลักของการสร้างบ้านในไทยเหมือนกัน ออกแบบบ้าน
สำหรับใครที่ชื่นชอบความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชนชาตินี้ อยากจะตกแต่งบ้านให้มีกลิ่นไอของความเป็นญี่ปุ่น วันนี้ “มาดูห้อง” เลยถือโอกาศนำแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่นทั้งแบบโบราณดั้งเดิม และแบบโมเดิร์นเจแปนมาฝากกัน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นไอเดียในการสร้างบ้านในฝันของทุกคนกันนะคะ
บ้านไม้กลิ่นญี่ปุ่น พื้นที่เหลื่อมล้ำให้มุมมองใหม่
วามเป็นส่วนตัว คือ หนึ่งองค์ประกอบที่ทุกบ้านต้องมี Corner House by Archier ก็เป็นบ้านที่ต้องการความรู้สึกแบบที่ว่า เพราะไซต์ตั้งอยู่บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสใน Flinders บนดินแดนของชาว Bunurong แม้จะอยู่ใกล้กับแนวชายฝั่งอันงดงามของคาบสมุทร Mornington แต่บริบทของโครงการที่อยู่ติดถนนทางแยก ต้องออกแบบอย่างรอบคอบ ซึ่งอาจจำกัดมุมมองการเปิดรับบ้านจากถนนที่อยู่ติดกัน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายนี้อย่างมั่นใจ Corner House จึงได้ปรับให้ส่วนหน้าอาคารดูทึบ เพื่อปกปิดลานส่วนตัวที่เปิดกว้างอยู่ภายในกำแพง
บ้านสองห้องนอนที่ค่อนข้างเรียบง่ายบนพื้นที่ไม่ถึง 200 ตร.ม. ตั้งใจทำให้บ้านดูกลมกลืนกับบริบทและเกิดความเป็นส่วนตัว ส่วนหน้าอาคารจึงเลือกสีเข้มหุ้มด้วยไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ช่วยกั้นผู้อยู่อาศัยจากการจราจรที่คับคั่งและเพื่อนบ้านที่อยากรู้อยากเห็น ผนังไม้ลายเหมือนกระดานอ้างอิงรายละเอียดจากกระท่อมทั่วไปในแถบนี้ ในขณะที่มีลายไม้บริเวณกรอบธรณีประตูที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ทางเข้าถนน เมื่อเดินผ่านจุดนี้ไปจึงจะพบกับประสบการณ์การใช้ชีวิตที่กว้างโล่งรอบๆ ลานส่วนตัวขนาดใหญ่ภายใน
จากทางเข้าสูงเกือบ 4 เมตร เปิดออกสู่อาณาจักรส่วนตัวที่เรียงรายด้วยกลุ่มอาคารต่างระดับมีทั้งชั้นเดียว สองชั้น สูงต่ำตามลักษณะของพื้นดิน ทำให้เหมือนเข้ามาสู่โลกอีกใบที่ต่างจากภาพภายนอกอย่างสิ้นเชิง รอบล้อมอาคารเผยให้เห็นสีของต้นไม้ ความสูงที่แตกต่างกันของพืช พื้นดินและใบไม้ ที่ล้วนมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โทนสี วัสดุพื้นผิวบ้านที่กลมกลืนเข้ากันกับบริบทเมื่อมองผ่านเข้าไป ตรงกลางของที่ดินเว้นช่องว่างไว้เป็นลานภายในกว้างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของทุกพื้นที่ เพราะนอกจากจะเป็นสวนแล้วยังช่วยกระจายแสง ดักลม ยังมีทางลัดที่น่ารื่นรมย์ไปยังฟังก์ชันของบ้านที่กระจายตัวอยู่ด้วย แบบบ้านสวนรีสอร์ท
พื้นที่ใช้สอยในแต่ละมุมของที่อยู่อาศัย
ห่อหุ้มด้วยไม้สีธรรมชาติ ให้บรรยากาศความเป็นญี่ปุ่นจาง ๆ ระหว่างอาคารเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินขั้นบันไดต่อเนื่องกันไปได้หมด รูปลักษณ์กล่องไม้สลับกระจกใสใช้เป็นแกลเลอรีแสดงงานศิลปะ และยังมีส่วนอื่นๆ ที่หน้าตาคล้ายกัน เพียงแต่ข้างในไม่ใช่งานศลิปะแต่ใส่พื้นที่ชีวิตเข้าไปแทน เลย์เอาต์แบบนี้กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกใหม่ ๆ เมื่อได้เข้ามาอยู่อาศัย ซื้อบ้าน
สถาปนิกพยายามหลีกเลี่ยงการแบ่งประตูและผนังทึบที่แยกพื้นที่ใช้งานออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยเลือกทำแปลนแบบเปิด เพื่อสร้างโอกาสในการใช้งานที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่น และสามารถมองเห็นกันได้ทั้งหมด ระหว่างอาคารจะสำรวจว่าโครงสร้างสามารถเชื่อมต่อมุมมองได้อย่างไร แล้วใช้วัสดุกระจกเป็นตัวกลางเบลอขอบเขตระหว่างกัน โดยค่อยๆ ไต่ระดับจากพื้นที่ทางเข้าไปห้องอ่านหนังสือที่โปร่งสบาย เข้ามาจนถึงห้องครัว พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องนั่งเล่นที่ใกล้ชิดสวนยิ่งขึ้นที่ด้านหลังของไซต์ ส่วนห้องสำหรับแขกจะอยู่ที่ชั้นล่างของบ้าน
สถาปนิกตั้งข้อสังเกตว่า เวลาพูดคุยกันบางครั้งเราแทบไม่จ้องสบตากันตรงๆ แต่อาจจะปล่อยสายตาข้ามหัวไหล่หรือมองต่ำลงมาบ้าง เมื่อรู้สึกว่าการสื่อสารด้วยการมองมักมีระดับที่ต่างออกไปเสมอ ทำให้ทีมงานเลือกสร้างความสูงและต่ำของอาคารที่เหลื่อมกันไปมาในแต่ละฟังก์ชันใช้งาน เกิดเป็นมุมมองใหม่ๆ ซึ่งผ่านการวิเคราะห์มาอย่างดี เพื่อให้ผลที่ได้คือความสมดุลระหว่างการเชื่อมต่อและความสันโดษเป็นส่วนตัว
ห้องกระจกที่สว่างไสวไปด้วยแสงทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถเปิดออกสู่ลานภายในได้ในทุกห้อง ความใสนี้ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถสังเกตมีส่วนร่วมในทุกช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในสวนได้อย่างใกล้ชิด