บ้านมินิมอล

บ้านมินิมอล

บ้านมินิมอล

ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสไตล์ วันนี้ทาง บ้านมินิมอล assetdata.live ขอนำเสนอ ทั้งโมเดิร์น ลอฟต์ บ้านทรงไทยและอื่น ๆ อีกมากมาย และบ้านที่เราจะมาพูดถึงก็เกี่ยวข้องกับวลีที่ว่า ‘Less is More’ วลีสั้น ๆ ที่ได้ยินแล้วนึกถึง บ้านมินิมอล ซึ่งมีความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความเก๋ไก๋และหรูหราจนมัดใจนักออกแบบบ้านหลายคนได้ ซึ่งเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์นี้คือการใช้งานอย่างเป็นประโยชน์โดยใช้เฟอร์นิเจอร์เพียงไม่กี่ชิ้นทำให้ดูเรียบแต่มีคุณค่านั่นเอง คลิ๊กที่นี่

ข้อดีของบ้านสไตล์มินิมอล

การมีบ้านสไตล์มินิมอลมีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันหรือความสวยงาม ที่เป็นเอกลักษณ์และช่วยให้เรามีความสุขได้ ดังนี้

บ้านมีเอกลักษณ์และน่าดึงดูด

ถึงแม้ว่าจะดูเรียบง่ายไม่มีอะไร แต่บ้านสไตล์มินิมอลก็เป็นบ้านที่แฝงไปด้วยความสวยงามสะอาดตาให้หลายคนสงสัยกันว่า มีการจัดระเบียบบ้านอย่างไร และยิ่งมีเฟอร์นิเจอร์สวย ๆ เรียบ ๆ หรืองานศิลปะเก๋ ๆ สักภาพ ก็สามารถเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อยเลย

ลดความเครียดให้กับผู้อาศัย

ถ้าอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ก็จะทำให้เกิดความเครียดได้มากขึ้น ซึ่งบ้านก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ทุกคนต้องใช้เวลาอยู่กับมันมากที่สุด และการมีบ้านที่รกก็ยังเพิ่มความขุ่นหมองในจิตใจและความเครียดได้ ซึ่งด้วยเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์มินิมอลที่เรียบง่ายแต่หรูหรานี่แหละ ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว

ทำความสะอาดง่าย

การจัดของให้เรียบร้อยน่าจะเป็นเรื่องที่ทั้งเหนื่อยและเสียเวลา เพราะยิ่งบ้านที่รกรุงรังไม่เป็นระเบียบก็ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องใช้เวลาในการปัด กวาด เช็ด หรือถูนานขึ้นไปอีก แถมใช้เวลานานในการเคลื่อนย้ายของอีกด้วย ดังนั้นการมีบ้านสไตล์มินิมอลก็สามารถทุ่นแรงและเวลาได้มาก ๆ

ชวนมาอยู่บ้านมินิมอลเล็กเรียบ ที่สงบปนอบอุ่น Twin Peaks House เป็นโปรเจ็คการต่อเติมอาคารในใจกลางโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมดั้งเดิมในการสร้างพื้นที่ร่วมสมัยสำหรับครอบครัวหนุ่มสาว โจทย์ที่สถาปนิกได้รับมาสั้น ๆ คือเจ้าของต้องการขยายพื้นที่ใช้สอยของบ้านให้มากขึ้นและต้องการให้บ้านเต็มไปด้วยช่องว่างดูโปร่งสบาย ในขณะที่นักออกแบบคิดใหม่ว่าจะใช้ช่องว่างได้อย่างไร ก็เห็นว่าน่าจะนำจุดแข็งหลักของบ้านเก่าที่สร้างมาก่อนแล้ว ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบด้วยการตัดสินใจเลือกใช้ชุดสีเรียบง่าย เน้นรูปทรงหลังคาแหลมในสัดส่วนพิเศษที่ทำให้บ้านดูโอ่โถงขึ้นจึงดูเหมือนเป็นบ้านแฝดมีหลังคา 2 หลังในพื้นที่เดียว

บ้านเล็ก ๆ ที่ต่อเติมเพิ่มพื้นที่สุขใจ

สถาปนิกแบ่งพื้นที่ใช้งานเป็นสามส่วนหลัก ๆ คือ โซนในอาคาร สนามหญ้า และเฉลียงบ้าน ซึ่งเป็นสเปซกึ่งกลางแจ้งขนาดกะทัดรัดที่เอาไว้เพื่อดึงให้ทุกคนในบ้านออกมานั่งชิล ๆ พักผ่อนรับความสดชื่นจากสวน ลม แสงแดด ท้องฟ้า ซึ่งทำให้ชีวิตมีชีวามากกว่าอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ตรงช่องว่างด้านข้างที่ติดกับเพื่อนบ้านยึดลวดสลิงเป็นเส้นแนวตั้งเรียงไป แล้วปลูกไม้เลื้อยข้างล่างให้เถาไม้ค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปจนเต็มก็จะกลายเป็นกำแพงธรรมชาติที่สร้างความเป็นส่วนตัวพร้อม ๆ กับเติมความสดชื่นของพื้นที่สีเขียวให้กับบ้านได้อีก

แต่ละห้องมีประตูหน้าต่างกระจกใสบานใหญ่ที่พับเก็บเข้าด้านข้างได้ จึงสามารถเปิดออกรับแสงธรรมชาติให้เข้าไปส่องสว่างภายในได้เต็มที่ พร้อม ๆ กับต้อนรับอากาศภายนอกให้เข้าไปหมุนเวียนภายในได้เต็มที่ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของพื้นที่ต่อเติมใหม่นี้ก็ได้มุมมองสวนชวนให้สบาย ดูมีอิสระไม่อึดอัดเหมือนบ้านเดิมที่เต็มไปด้วยผนังทึบ

บ้านมินิมอล

ภายในเป็นพื้นที่ใช้งานส่วนรวม ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร และครัว ที่วางเรียงต่อกันไปในพื้นที่เดียว สมาชิกในครอบครัวทุกคนจึงสามารถเข้ามาใช้พื้นที่พร้อม ๆ กันและทำกิจกรรมที่หลากหลายด้วยกันได้ในคราวเดียว สำหรับการตกแต่งภายในเน้นความมินิมอล ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ที่เกินจำเป็นซึ่งจะรกตาและกีดขวางทางสัญจร  Mood&tone หรืออารมณ์ความรู้สึกของบ้านเน้นความเรียบง่าย สบายตา ผ่อนคลาย จึงเลือกใช้โทนสีขาวเป็นหลักเพราะสามารถสื่อสารถึงความเรียบง่ายได้ดี ตัดความนิ่งให้เกิดมิติที่มากขึ้นด้วยของแต่งบ้านสีเทา สีเหลืองมัสตาร์ด สีดำ และงานไม้

ไม่เพียงแค่มีผนังกระจกเป็นพื้นที่ช่วยดึงแสงเข้าสู่อาคารจากด้านข้างเท่านั้น ในส่วนที่ลึกเข้าไปในอาคารนักออกแบบเพิ่มช่องแสง skylight สี่เหลี่ยมบนหลังคา เพื่อที่แสงกระจายเข้าสู่ตัวบ้านจากด้านบนในจุดที่แสงไปไม่ถึงด้วย ทำให้บ้านสว่างด้วยแสงแดดธรรมชาติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าในช่วงกลางวันได้ค่อนข้างมาก

บ้านโมเดิร์นมินิมอล

 ในการตกแต่งบ้านนอกจากการเลือกวัสดุตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ที่จะเป็นตัวนำเสนอแนวคิดแล้ว สี ยังเป็นอีกองค์ประกอบที่สามารถบ่งบอกถึงความรู้สึกอารมณ์และการรับรู้ของผู้คนได้ หากเราคุมธีมการใช้สีให้เหมาะสมกับอารมณ์ของบ้าน จะสามารถทำให้ทุกพื้นที่ของบ้านมีพลังทางการสื่อสารได้อย่างดีเยี่ยม แม้ว่าจะใช้สีขาวที่ดูจืดชืดเป็นสีหลักก็ตาม สำหรับความสูงและความต่ำของเพดานก็มีส่วนต่อความรู้สึกเช่นกัน เช่น ระยะเพดานสูงจะทำให้ดูโอ่โถงเป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่ได้สัดส่วนกับบ้านหรือสูงเกินไปก็จะดูเวิ้งว้าง เป็นต้น ต้องเลือกพื้นที่ที่จะใช้และดูในภาพรวมให้ดี เพื่อให้บ้านตอบโจทย์ที่สุด

บ้านมินิมอล ชวนท้าทายกับหลังคาที่ลอยตัว

บ้านโมเดิร์นมินิมอล

หากเรามองบ้านในชุมชนก็จะได้เห็นมุมมองที่แตกต่างมากมาย โดยเฉพาะในยุคใหม่ ๆ การตีความบ้านเปลี่ยนไปอย่างหลากหลาย เมื่อมาประกอบกับเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ทำให้อาคารที่พักอาศัยน่าสนุกและต่อเติมจินตนาการทั้งของสถาปนิกและของผู้อยู่อาศัยได้กว้างขึ้น บ้านในญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่มีความกล้าในการใส่อะไรแปลก ๆ ออกนอกกรอบ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในการออกแบบและมีอิทธิพลต่อการทำบ้านในไทยไม่ใช่น้อย เหมือนเช่นบ้านหลังคาลอยตัวในโกเบ ฝีมือการออกแบบจาก Masahiro Miyake หลังนี้ที่แม้จะนำเสนอสไตล์มินิมอลแต่ดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมาก

บ้านหลังนี้เป็นหนึ่งในโครงการบ้านที่ออกแบบโดย y + M Design Office ที่กำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่เรียบง่ายมาก ๆ  ตัวบ้านถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ส่วนบุคคลที่สะท้อนตัวตนอันแตกต่างจากภูมิทัศน์ของเมืองรอบ ๆ โดยใส่รูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร แต่ยังมีจุดร่วมคือลักษณะหลังคาที่ทำองศาตรงมุมให้ดูคล้ายบ้านหลังคาทรงปั้นหยา และการตัดผนังบางส่วนให้โค้งดูเหมือนทรงหลังคาญี่ปุ่นโบราณ ตัวอาคารขยับเข้าไปลึกจากถนนแล้วทำเนินให้ค่อย ๆ เข้าสู่ตัวบ้าน แม้จะเป็นอาคารส่วนตัวแต่ก็เป็นจุดสังเกตที่เสริมสร้างประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนได้

อาคารกล่องสี่เหลี่ยมด้านหน้าที่เห็นเป็นก้อนเดียว หากมองจากด้านหลังจะเห็นว่าแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็นสองก้อน มีช่องว่างตรงกลาง ในส่วนหลังคาก็เป็น 2 ชั้นเช่นกัน คือ หลังคาที่ติดกับผนังออกแบบให้โค้งแอ่นความสูงด้านหนึ่ง ตัดเส้นเฉียงสูงด้านหนึ่งให้มีความเหลื่อมกัน ส่วนหลังคาอีกชั้นจะเป็นแผ่นคอนกรีตขนาดใหญ่ยกขึ้นเป็นหลังคาลอยตั้งอยู่บนเสาไม้เรียวสูงอย่างท้าทาย ในขณะที่ผนังทั้งสี่ด้านด้านล่างดูราวกับเป็นม่านสีขาวที่ห้อยลงมาจากทั้งสี่ด้าน

การสร้างหลังคาในมุมที่แตกต่างกันทำให้เกิดมุมมองที่เหลื่อมกัน สามารถมองเห็นกันได้โดยไม่ทับซ้อน และการใช้วิธีแยกอาคารเป็นสองส่วนก็เป็นกลยุทธ์ที่ดีในการแบ่งสัดส่วนการใช้งานออกจากกัน อาทิ พื้นที่เล่นสำหรับเด็ก ห้องทำงาน ห้องนอน และพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่รบกวนกันและกัน  ระหว่างอาคารมีประตูหน้าต่างขนาดใหญ่ที่หันหน้าเข้าหากันทำให้สามารถมองเห็นภายในของบ้าน เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยโดยไม่รู้สึกว่าถูกปิดกั้นมุมมอง เพียงแต่เลือกเปิดในส่วนที่เปิดได้และปิดส่วนที่ต้องการปิดเท่านั้น

บ้านโมเดิร์นมินิมอล

งานถนัดของสถาปนิกตกแต่งบ้านญี่ปุ่นคือความ clean ของเส้นสายและวัสดุ ที่ทุกอย่างต้องดูสะอาดตา น้อย ๆ ไม่มีอะไรมากเกินความจำเป็น สว่างด้วยสีขาวเป็นสีพื้น แทรกด้วยงานไม้ให้ความอบอุ่นท่ามกลางความนิ่ง จะแปลกตาไปตรงที่วัสดุฝ้าเพดานหยิบวัสดุโปร่งแสงมาใช้ ซึ่งยังไม่ค่อยได้เห็นในบ้านหลังไหนแม้จะเป็นบ้านในญี่ปุ่นเองก็ตาม

ในด้านหน้าอาจจะเห็นว่ามีหน้าต่างน้อยมากทั้งสามด้าน ราวกับว่าการสัมผัสกับโลกภายนอกถูกกำหนดผ่านช่องเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ถ้ามาดูด้านในจะพบว่าบ้านมีความสัมพันธ์ทางตรงกับที่เข้ามาจากช่องแสงด้านหลัง ด้านข้าง ช่องแสง skylight ด้านบนหลังคาและบริเวณเหนือผนัง  ภายในบ้านมีการจัดช่องว่างขนาดใหญ่ ห้องพักไม่ได้แยกออกจากกันในการใช้งาน แต่ทุกห้องมีส่วนช่วยในการสร้างพื้นที่ส่วนกลางเช่นจัตุรัสหมู่บ้านส่วนตัว การรับรู้นี้เสริมด้วยแสงทางอ้อมจากด้านบน

หลังคาที่แยกออกจากผนังและทางเข้า ไม่เพียงแต่เป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน แต่ยังนำเสนอโซลูชันที่ส่งเสริมให้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศทำได้ดีขึ้นด้วย รังสีของแสงที่แรงที่สุดของดวงอาทิตย์จากด้านบนจะถูกฉายลงมาจากช่องแสงสกายไลท์บนหลังคาหลักขนาดใหญ่ ในขณะที่รังสีแสงของดวงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวจะทะลุผ่านการตัดเข้ามาในอาคารที่สร้างขึ้นตามเส้นทางช่องแสงในบ้าน ซึ่งนักออกแบบได้เจาะจงตำแหน่งที่รับแสงได้พอดี ในเวลาเดียวกันอากาศจะถูกถ่ายเทด้วยช่องเปิดและตรงช่องว่างระหว่างหลังคาทั้งสองด้วยเช่นกัน ทุก ๆ อย่างที่รวมกันเป็นองค์ประกอบของบ้านจึงมีเหตุผลรองรับทั้งหมด

บ้านที่ดูเหมือนเรียบง่าย แต่ในทุกรายละเอียดคิดมาอย่างดีให้มีลูกเล่น และตอบโจทย์ทั้งเรื่องแสง ลม การระบายอากาศ ไปจนถึงมุมมองจากด้านนอกเข้ามาด้านใน ด้านในมองออกไปข้างนอก การจัดพื้นที่ให้ใช้งานง่ายในชั้นล่าง แต่มีความซับซ้อนในชั้นบน จึงทำให้ชีวิตภายใต้ความเรียบ สะอาด นี้มีความสนุกซ่อนอยู่

 การออกแบบบ้านให้อยู่อาศัยได้สบาย ต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ปัจจัยไม่ว่าจะเป็น การเดินทางของแสง การเดินทางของลม ฟังก์ชันที่ต้องการใช้งาน รูปแบบการตกแต่งภายใน และความเป็นส่วนตัว ซึ่งความเป็นส่วนตัวนี้อาจจะทำได้ด้วยการปิดบ้านทึบใส่ช่องแสงน้อย ๆ การขยับบ้านเข้าไปให้ลึกจากถนน หรือทำฟาซาดบ้านแบบระบบผนัง 2 ชั้น ด้านหน้าใส่วัสดุที่มีช่องวางสลับทึบ ให้พื้นที่ภายในรับแสง รับลม และเห็นวิวความเคลื่อนไหวภายนอกได้ ในขณะที่บุคคลภายนอกมองเข้ามาไม่ถนัด ก็เป็นวิธีการสร้างความเป็นส่วนตัวที่ยืดหยุ่นและสบายกว่าแบบปิดทึบ

จุดเด่น บ้านมินิมอล

จุดเด่นหลัก ๆ ของบ้านสไตล์มินิมอลนั่นก็คือ การแต่งบ้านแบบเรียบง่ายแต่หรูหรามีสไตล์ โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าบ้านสไตล์อื่น ๆ มีหลักการออกแบบจากเส้นตรงให้ดูเรียบที่สุดนั่นเอง ซึ่งเห็นได้จากเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่น้อยชิ้น และแต่ละชิ้นก็เรียบง่ายแต่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง หรือจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถใช้สอยประโยชน์ ได้จากฟังก์ชันที่แอบอยู่ เช่น การใช้กระจกที่มีชั้นวางของด้านใน หรือห้องใต้พื้นบ้านที่ส่งผลให้เกิดเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของบ้านสไตล์มินิมอลที่สำคัญคือ การมีพื้นที่บ้านที่สะอาดและเรียบร้อยนั่นเอง

เทคนิคแต่งบ้านสไตล์มินิมอล

ถ้าจะบอกว่าการแต่งบ้านสไตล์มินิมอลให้สวยงามเป็นเรื่องที่ยากก็คงพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไม่จริง เพราะเพียงแค่มีเคล็ดลับและการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ สี และของตกแต่งอย่างละเอียดถี่ถ้วน บ้านธรรมดาก็สามารถกลายเป็นบ้านสไตล์มินิมอลได้ ซึ่งเคล็ดลับการตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลสามารถแบ่งออกเป็นหลักการต่าง ๆ ได้ดังนี้

เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นและมีประโยชน์

อย่างที่รู้กันว่าเอกลักษณ์สำคัญของบ้านสไตล์มินิมอล คือบ้านที่เรียบร้อยสะอาดตา ทำให้การตกแต่งบ้านสไตล์นี้ต้องลดทอนเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่จำเป็นออกไป โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์จำเป็น อย่างเตียงหรือราวตากผ้า ทำให้บ้านดูสะอาดและเรียบร้อย ซึ่งเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีประโยชน์ใช้สอย เช่น ตู้หรือพื้นที่คัดแยกของใช้ต่าง ๆให้เป็นระเบียบนั่นเอง

You May Also Like

More From Author